เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ
หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

สมาชิกกลุ่มที่ 4

  • นางสาวจันทร์พร อู่สุวรรณ
  • นางสาวชนัฐกานต์ แสงสุข
  • นางสาวณัฐวดี วงศ์ลิขิต
  • นางสาวดารุณี บุญปก
  • นางสาวธนภรณ์ ภัทราพิศาล
  • นางสาวนฎกร ทวีวัฒน์
  • นายกิตติรักษ์ กิ่งเพรชเสรีชน
  • นายอำนาจ วิเชียรเสนาะ

การ์นตูน

การ์นตูน

เกี่ยวกับฉัน

Unknown
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

บทที่ 5 (จริยธรรมกับสารสนเทศ)

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญาญากรรมคอมพิวเตอร์)


1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
3. การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
4. ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5 .ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
6. อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
7. หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
8. แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
9. ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง


2. อธิบายความหมายของ


2.1 Hacker หมาย ถึงผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับ สูง จนสามารถสร้างแก้ไขและเจาะระบบ การทำงานของเครือข่ายหรือการทำงานของโปรแกรมต่างๆ ได้โดยมีวัตถุประสงค์ในทางดี เช่นแก้ไชปรับแต่งโปรแกรม แก้ไขที่บกพร่องให้สมบูรณ์หรือดูแลรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ให้มีเสถียรภาพปราศจากการก่อกวนหรือถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี


2.2 Cracker หมาย ถึง ผู้เชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในระดับสูง จนสร้างและแก้ไขระบบเครือข่ายหรือโปรแกรมต่างๆ ได้เช่นเดียวกับ Hacker แต่มีวัตถุประสงค์ในทางที่ไม่ดี เช่น เจาะเข้าเครือข่ายของผู้อื่นพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการขโมย password หรือข้อมูลสำคัญ เป็นต้น


2.3 สแปม คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )


2.4 ม้าโทรจัน โปรแกรมที่ซ่อนตัวอยู่ในฮาร์ดดิสก์ด้วยฝีมือของแฮคเกอร์ ที่อาจส่งโค้ดแฝงมากับไฟล์แนบท้ายอีเมล การทำงานของโทรจันก็เหมือนกับเรื่องเล่าของกรีก ที่ว่าด้วยกลอุบายซ่อนทหารไว้ในม้าไม้ขนาดใหญ่ และนำไปมอบให้กับชาวเมืองทรอย (Trojans) พอตกกลางคืน ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ก็ลอบออกมาเปิดประตูเมืองให้พวกของตนบุกเข้า ตีเมืองทรอยได้อย่างง่ายดาย เปรียบได้กับแฮคเกอร์ที่ส่งโปรแกรมลึกลับ (ม้าโทรจัน) มาคอยดักเก็บข้อมูลในพีซีของคุณ แล้วส่งออกไปโดยที่คุณไม่รู้ตัวนั่นเอง


2.5 สปายแวร์ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย


3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและการลงโทษมา 5 ตัวอย่าง


พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐


1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … เจอคุก 6 เดือน


2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คนอื่นรู้ … เจอคุกไม่เกินปี


3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา … เจอคุกไม่เกิน 2 ปี


4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี


5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี


บทที่ 4 (การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์)

1.สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ


- สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)


ข้อดี


1. ราคาถูก
2. ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
3. มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก


ข้อเสีย


1. ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกลมาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย


2. ของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร)


- สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)


ข้อดี


1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP


2. ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ


ข้อเสีย


1. มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก


2. ราคาแพงกว่าสาย UTP


- สายโคแอคเชียล (Coaxial)


ข้อดี


1. ราคาถูก
2. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา


ข้อเสีย


1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด


- สายเส้นใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)


ข้อดี


1. ส่งข้อมูลปริมาณมากด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีข้อผิดพลาดน้อย
3. ส่งได้ระยะๆไกล สัญญาณอ่อนกำลังยาก


4. มีความปลอดภัยสูง


5. มีขนาดเล็ก


6. มีความทนทาน สามารถติดตั้งในที่ที่มีอณหภูมิสูงหรือต่ำกว่ามากได้


7. ค่าใช้จ่ายถูกกว่าทองแดง ถ้าใช้งานในระยะทางไกล


ข้อเสีย


1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล


4. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย


5. การเดินสายจำเป็นต้องระมัดระวังอย่าให้มีความโค้งงอมาก


6. ค่าใช้จ่ายสุง เมื่อเทียบกับสายทั่วไป


7. การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวขาญเฉพาะ



2.การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร


1. สามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Peripheral sharing ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง



2.การใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน (Software sharing) จากประโยชน์การใช้ Software ร่วมกันนี้ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ที่ File Server ข้อมูลจึงถูกต้อง ทันสมัยและรวดเร็ว เป็นการควบคุมข้อมูลที่จุดศูนย์กลาง โดยแต่ละ Workstation สามารถ ใช้ข้อมูลของ Workstation อื่นใดทันทีถ้ามีสิทธิ์ โดย ไม่ต้องรีรอจึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (Flexible) นอกจากนั้น ยังลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและลดเวลาในการทำงาน คือ แทนที่จะ ต้องเสียเวลาในการรอข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะทำงานต่อไป ก็ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและลด ความ ผิดพลาด ที่เกิดจากข้อมูลไม่ถูกต้องทันสมัย


3.การใช้ข้อมูลร่วมกัน (File sharing) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง


4.การสื่อสารระหว่างบุคคล ( Electronic communication )


5.ค่าใช้จ่าย (Cost )
6.การบริหารเครือข่าย (Network Management ) การทำให้เครือข่ายมีความจงรักภักดีกับองค์กรจึงถือเป็นงานหนักที่คนทำธุรกิจต้องเรียนรู้ และพยายามทำให้ได้ เพราะมันคือความมั่นคงในธุรกิจ มีรายได้ที่สูง ประสบความสำเร็จตามแผนการตลาด
7.ระบบรักษาความปลอดภัย (Security system)
8.เสถียรภาพของระบบ ( Stability ) ระบบจะต้องไม่มีการสั่นรุนแรงและสามารถที่จะควบคุมตัวแปรให้อยู่ในระดับที่ควบคุมในการใช้งานได้ดังนั้น “ ระบบควบคุมที่มีเสถียรภาพ คือ ระบบซึ่งส่วนที่เป็นการตอบสนองชั่วขณะต้องลดค่าลงจนเป็นศูนย์เมื่อเวลาเพิ่มขึ้น”
9.การสำรองข้อมูล (Back up )การสำรองข้อมูล เป็นการคัดลอกแฟ้มข้อมูลเพื่อทำสำเนา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากข้อมูลเกิดการเสียหายหรือสูญหาย โดยสามารถนำข้อมูลที่สำรองไว้มาใช้งานได้ทันที เช่น แฟ้มข้อมูลหนึ่งเก็บไว้


3.หากนาระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร


รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ (Star) เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง
ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนอง
ที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไป
ยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้
ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที


ข้อดี
1.
เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
2.
เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
3.
หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
4.
การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
5.
หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย
1.
เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
2.
หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
3.
ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
4.
เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง


4.อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร



1.เป็นแหล่งเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล


2.เป็นที่แลกเปลี่ยนความเห็นและทัศนคติในเรื่องต่างๆ


3.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือออนไลน์


4.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดออนไลน์


5.นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น


6.สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้


บทที่ 3 (การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์)

1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทอนิกส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง




ประเภทของการประมวลผลข้อมูล




แบ่งตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีต

โดยการนำอุปกรณ์ง่ายๆ มาช่วยในการคำนวณ เช่น ลูกคิด ปากกา ดินสอ เป็นต้น การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับการคำนวณที่ไม่ ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งมักพบในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก

2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล(Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลในการประมวลผล เช่น เครื่องทำบัญชี (Accounting machine) เครื่องเจาะบัตร เครื่องเรียงบัตร เครื่องแปลข้อมูล เครื่องตรวจทานบัตร เป็นต้น

3.
การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล ส่วนใหญ่มักจะใช้ กับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งงานที่มีการประมวลผลที่ยุ่งยากซับซ้อน การนำเอาคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมาย มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อถืออย่างมากในปัจจุบัน ชึ่งเราอาจเรียกการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing: EDP) เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก และให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจและระบบงานที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์ อ้างอิง และตัดสินใจ รวมทั้งโปรแกรมระบบงานต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการประมวลผลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ




2.จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

- บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น



-
ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น



-
ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น



-
เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด



-
ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น



-
ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น




3.หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร




หน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรม




ส่วนตรวจสอบและวิเคราะห์ทางวิศวกรรม รับผิดชอบการควบคุมคุณภาพวัสดุประกอบด้วย การตรวจตรา การเก็บตัวอย่าง การทดสอบ การวัดปริมาณ การควบคุมการทำงาน การวิเคราะห์ผล การรายงาน และการติดตามการปฏิบัติงานต่างๆ ที่จำเป็น เช่น วัสดุที่ตรวจสอบแล้วคุณภาพไม่ได้ตามข้อกำหนดการก่อสร้างต้องขนย้ายออกไปหรือทำการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ซึ่งถ้าปราศจากขั้นตอนเหล่านี้แล้วจะขาดความถูกต้องและความเชื่อถือ




ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม




1. Inventory Control

เป็นระบบจัดการทางด้านของ material ของสโตร์ ที่ใช้ภายในโรงงาน จัดการคุมยอดที่มีอยู่ใน สโตร์ การรับ การเบิกขอภายในสโตร์รวมทั้งเก็บประวัติการเบิกจ่ายต่าง ๆ ของ material ระบบ inventory control จะแยกออกได้ดังนี้




· consumption เช่น สโตร์ spare part , general part (สโตร์กลาง) และ Chemical part




· fix asset เป็นสโตร์ที่เกี่ยวกับ asset ของบริษัท เช่น โต๊ะ เก้าอี้ จะจัดการเกี่ยวกับการยืม คืน ประวัติการยืม คืนของ fix asset และของพนักงานแต่ละคน




· admin store เป็นของที่เบิกใช้ทั่วไป เช่น ดินสอปากกา ชุดพนักงาน เป็นต้น ก็จัดการเรื่องการเบิกจ่ายเช่นเดียวกัน




2. Procurement หรือระบบจัดซื้อจะเกี่ยวกับการจัดซื้อของตามใบขอซื้อระบบจะจัดการเกี่ยวกับข้อมูลมองใบข้อมูล การซื้อของต่าง ๆ เข้ามา ขอบเขตการทำงานของระบบนี้เริ่มตั้งแต่ออกใบขอซื้อ ผ่านใบขอซื้อไปที่จัดซื้อ ออกใบสั่งซื้อของ จัดการเรื่องใบส่งของ จนกระทั่งได้รับของเรียบร้อย




3. Online Finished Product

เป็นระบบเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้าที่เป็นทั้งเม็ดพลาสติกและสารเคมีระบบนี้จะเกี่ยวพันกับระบบนี้ที่สำนักงานใหญ่เพราะว่าจะต้องมีการส่งข้อมูลที่ได้จากการขายมาที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะจัดสินค้าได้ตามการสั่งซื้อของลูกค้าและสามารถจัดส่งได้ตามที่ลูกค้าต้องการหน่วยงานทางระยองที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้ได้แก่ SH, WH, HT และ TS




4. Accounting (บางส่วน) จะเป็นระบบเกี่ยวกับการทำงานของบัญชี เช่นจัดการเรื่องปิดยอดสโตร์ประจำแต่ละเดือน,ระบบA/P(Accountpayable)บางส่วนที่เกี่ยว ข้องกับกาจัดซื้อของที่ระยอง, ควบคุมการ charge costของ workorder ใกรณีที่หน่วยงานนั้นยังไม่มีการใช้ระบบMaximo เป็นต้น




4.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบทซ์และแบบเรียลไทม์




- การประมวลผลแบบแบทซ์ ( Batch Processing ) การประมวลผลแบบแบทซ์นั้นเมื่อข้อมูลมาถึงคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกรวบรวมหรือเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำมาประมวลผล จะอาศัยระยะเวลาในการเก็บนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ หรืออาจจะเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาที่ได้กำหนดไว้ก็ได้




- การประมวลผลแบบเวลาจริงหรือแบบเรียลไทม์ เป็นการประมวลผลที่คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลในทันทีที่มีข้อมูลเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์ และส่งผลลัพธ์จากการประมวลผลไปให้ผู้ใช้ในทันที ซึ่งการประมวลผลแบบนี้จะทำให้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจุบันเสมอ การประมวลผลแบบเวลาจริงนี้ระบบนำข้อมูลเข้า ระบบแสดงผลของคอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกันตลอดเวลา หากอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างไกลกันก็จะต้องมีเครือข่ายการสื่อสารเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นถูกส่งเข้ามายังคอมพิวเตอร์ทันที การะประมวลผลแบบนี้



บทที่ 1 (เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ)

1.) เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ คำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำ 2 คำนำมารวมกัน คือ คำว่า เทคโนโลยี และสารสนเทศ เทคโนโลยี + สารสนเทศ = เทคโนโลยีสารสนเทศ


เมื่อพิจารณาความหมายของแต่ละคำจะมีความหมายดังนี้


เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น


สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง ๆ


เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ


ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้


- ประการที่หนึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ


- ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์


- ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว


- ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง


- ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา


- ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น


กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง



ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย


1. ฮาร์ดแวร์ คือชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลเข้า ประมวลผลข้อมูลและแสดงผล


2. ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงาน ของฮาร์ดแวร์ในการรับข้อมูลเข้า การประมวลผล และแสดงผล รวมทั้งติดต่อกับผู้ใช้งาน


3. บุคลากร คือ ผู้ใช้หรือผู้ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ และผู้พัฒนาโปรแกรม เพราะฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ไม่สามารถทำงานได้เอง จำเป็นต้องมีผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล ติดต่อสื่อสารกับซอฟต์แวร์ให้ทำงานประมวลผล โดยการเลือกคำสั่งที่ต้องการ รวมถึงการปิด และเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


4. ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่บุคลกรรวบรวมมา เพื่อป้อนเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลโดยตรง เช่น การป้อนวัน เดือน ปี เกิดของนักเรียน เป็นต้น


5. ขั้นตอนการปฏิบัติ คือ ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานเพื่อประมวลผลข้อมูล ขั้นตอนในการทำงาน ประมวลผล เช่น ถ้าต้องการทราบอายุของนักเรียนสามารถประมวลผลได้ โดยนำปีเกิดของนักเรียน มาลบกับปีปัจจุบัน เป็นต้น


ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุกธุรกิจ โดยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชนและราชการ


ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้


1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อ เหตุการณ์เนื่องจากข้อมูลถูกจัดเก็บและบริหารอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทันต่อความต้องการ


2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหาร สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศมาช่วยในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานเนื่องจากสารสนเทศถูกรวบรวมและจัดการอย่างเป็นระบบ ทำให้มีประวัติของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะบ่งชี้แนวโน้มของการดำเนินงานว่าน่าจะเป็นไปในลักษณะใด


3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้ควบคุมจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานโดยนำข้อมูลบางส่วนมาประมวลผลเพื่อประกอบการประเมิน สารสนเทศที่ได้จะแสดงให้เห็นผลการดำเนินงานว่าสอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการเพียงไร


4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตูของปัญหา ผู้บริหารสามรถใช้ระบบสารสนเทศประกอบการศึกษาและการค้นหาสาเหตุ หรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ถ้าการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยอาจจะเรียกข้อมูลเพิ่มเติมออกมาจากระบบ เพื่อให้ทราบว่าความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจัดรูปแบบสารสนเทศในการวิเคราะห์ปัญหาใหม่


5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหาวิธีควบคุม ปรับปรุงและแก้ไขปัญหา สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลจะช่วยให้ผู้บริหารวิเคราะห์ว่าการดำเนินงานในแต่ละทางเลือกจะช่วยแก้ไขหรือควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ธุรกิจต้องทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานหรือเป้าหมาย


6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงานลง เนื่องจากระบบสารสนเทศสามารถรับภาระงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ตลอดจนช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน ส่งผลให้ธุรกิจสามารถลดจำนวนคนและระยะเวลาในการประสานงานให้น้อยลง โดยผลงานที่ออกมาอาจเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจ


จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศมีความสำคัญในการบริหารจัดการภายในองค์กร เพราะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและมีการแข่งขันทางธุรกิจสูงองค์กรที่มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงข้อมูลได้เร็วเท่านั้นถึงจะอยู่รอดได้ในปัจจุบันดังนั้นผู้บริหารขององค์กรนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในการที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศของตนเองให้มีความทันสมัยและนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะปัจจุบันการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการธุรกิจก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงานและใช้ในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆสำหรับองค์กร นอกจากนี้ยังสร้างความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนำไปสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ต่อไปในอนาคต


วิวัตนาการของระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้


- ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล


- ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)


- ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ


- ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า


ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ


บทที่ 2 (เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต)

1.) จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคาดังต่อไปนี้



-Hareware –Software -Peopleware –Data –Information








ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ดังนี้








1) หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยอาจส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลโดยตรง เช่น เมาส์ , แผงแป้นอักขระ, ปากกาแสง, ก้านควบคุม ฯลฯ หรือส่งผ่านอุปกรณ์ รับเข้าข้อมูลทางอ้อม เช่น เครื่องขับ, แผ่นบันทึก , เครื่องขับเทปแม่เหล็ก เป็นต้น








2) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ไมโครโพรเซสเซอร์ ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนได้ด้วยรหัสเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณและหน่วยตรรกะ








3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ซึ่งประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) และเครื่องพิมพ์ (Printer)















ซอฟต์แวร์ (software) หมาย ถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วย คำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์








โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกัน ได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์ จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้















Peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้








1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน








2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน








3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้








4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ








เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น















ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า จำนวนนักเรียนในโรงเรียน








สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการการประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพ



ข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ















2.) หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และ Peopleware โดยมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย








- Hardware ร้านอาหาร








1. โปรแกรม บริหารร้านอาหาร Order Restaurant รุ่น Silver Edition



รุ่นที่รองรับร้านอาหารทั่วไป ที่ไม่มีความซับซ้อนของระบบร้านมาก แต่โปรแกรมสามารถช่วยให้ร้านทำงานได้ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ เป็นระบบ ตามที่ร้านต้องการได้



โปรแกรมถูกออกแบบมาให้ง่ายในการเข้าใจ สวยงามน่าใช้ และมีความยืดหยุ่น เพื่อปรับให้เข้ากับร้าน



ซึ่งมีความสามารถหลักๆ ดังนี้




- รองรับระบบจอ Touch Screen 100% เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น ในแต่ละหน้าที่ของเครื่องนั้นๆ



- สามารถกำหนดหน้าจอในแต่ละเครื่องให้ตรงกับหน้าที่ของงานนั้นๆได้ เช่น ส่วนรับออเดอร์ , ส่วนเช็คบิล เพื่อออกใบแจ้งค่าอาหาร, ส่วน รับเงิน/ออกใบเสร็จให้ลูกค้า , ส่วนห้องครัว เมื่อต้องการกำหนดให้ครัวโต้ตอบ สถานะทำอาหารแต่ละรายการ ได้เป็นต้น



- การรับออเดอร์ สามารถเพิ่มคำสั่งพิเศษได้ทันทีในแต่ละรายการอาหาร เช่น เผ็ดมาก ,ใส่ผริก 3 เม็ด ,เพิ่มไข่ดาว 5 บาท เป็นต้น



- มีระบบ ห้องครัว ดูลำดับรายการสั่งอาหารของแต่ละโต๊ะ เพื่อเตรียมทำตามสั่งจากผู้รับออเดอร์แต่ละเครื่อง พร้อมทั้งโต้ตอบได้ทันที



- สามารถ เพิ่มครัว ได้ไม่จำกัด เพื่อรับลำดับรายการอาหารที่สั่งจากส่วนหน้า แยกแต่ละรายการอาหารได้ ทำให้ง่ายในการบริหารร้าน และปรับเข้ากับธุรกิจในรูปแบบของท่านได้เอง เช่น มีครัวร้อน ,ครัวเย็น,บาร์น้ำ, ครัวของหวาน-ผลไม้ เป็นต้น



- สามารถกำหนด % ส่วนลด แต่ละรายการอาหารได้



- มีระบบ พิมพ์ ออเดอร์เข้าครัว ได้ทันที เมื่อผู้รับออเดอร์ ต้องการสั่งพิมพ์ใบสั่งอาหาร เข้าไปที่ เครื่องพิมพ์ของครัวนั้นๆ



- สามารถ เช็คบิลปกติประจำโต๊ะ ,เช็คบิลรวมโต๊ะ,เช็คบิลแยก กรณีนั้นโต๊ะเดียวกัน ได้



- สามารถ พิมพ์ใบแจ้งค่าอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้



- สามารถ พิมพ์ใบรายการอาหาร ที่ลูกค้าสั่งแต่ละครั้งได้ เพื่อประยุกต์ใช้กับร้านในลักษณะต่างๆ เช่น ส่งให้ลูกค้าเก็บไว้ประจำโต๊ะ เพื่อเดินมาเช็คบิล หรือ พิมพ์ให้ครัวทำอาหารตามรายการ



- มีระบบ ดูสถานะโต๊ะ ว่าง /ไม่ว่าง ,ดูสถานะรายการอาหารของแต่ละโต๊ะ เพื่อประโยชน์การติดตามงาน



- มีระบบควบคุมการย้ายโต๊ะ, รวมโต๊ะ



- สามารถใช้ได้ทั้ง ระบบ Stand Alone และ Client/Server



- มีรายงานสรุปยอดขาย และรายงานสำคัญต่างๆ ที่จำเป็น ตามมาตรฐาน เพื่อใช้ในการบริหารร้าน



- รองรับระบบ สต๊อก จัดการคลังวัตถุดิบ








2. โปรแกรม บริหารร้านอาหาร Order Restaurant รุ่น Gold Edition



เป็นรุ่นสูงสุด(Top) ที่มีความยืดหยุ่นสูง และมีความสามารถมากกว่า รุ่น Silver Edition ที่มีข้อจำกัดอยู่ โดยสามารถปรับเข้าได้กับ ทุกระบบธุรกิจร้านอาหาร ทั้งปัจจุบัน และอนาคต



เหมาะกับร้านอาหารที่มีความซับซ้อน ของงาน มีความต้องการของระบบมากขึ้น แต่ต้องการให้ระบบ โปรแกรมร้านอาหาร ช่วยบริหารงานให้ทำงานง่ายขึ้น ทำให้ตอบสนองความต้องการได้ ด้วยการลงทุนซื้อ Software รุ่น Gold Editon ครั้งเดียว



และยังเหมาะ กับร้านอาหารที่เพิ่งเปิดดำเนินธุรกิจเริ่มต้น หรือ ร้านอาหารที่ยังไม่มีโปรแกรมควบคุมบริหาร แต่มองถึงอนาคต ของการขยายระบบงานต่อไป ด้วยการลงทุนซื้อ Software รุ่น Gold Editon ครั้งเดียว








ซึ่งมีความสามารถหลักๆ ที่เพิ่มเติม ดังนี้



- เพิ่มจำนวนโซน โต๊ะ ได้ไม่จำกัด



- รองรับระบบ สมาชิก



- รองรับระบบการดูข้อมูล ระหว่างสาขา



- รองรับรูปแบบธุรกิจร้านอาหารแบบมีสาขา ได้ทั้งแบบ ควบคุมที่ศูนย์กลาง และ แบบดูข้อมูลระหว่างสาขา



- รองรับการสั่งอาหาร/รับออเดอร์ ผ่านเครื่อง Pocket PC , Tablet PC



- กำหนดพนักงานรับผิดชอบประจำโต๊ะ



- รองรับระบบ Login พนักงาน



- กำหนดเงื่อนไขรับ Order ประเภทอาหารนั้นๆ ตามวัน เวลา / ช่วงวัน / ช่วงเวลา



- กำหนดเงื่อนไขรับ Order รายการอาหารนั้นๆ ตามวัน เวลา / ช่วงวัน / ช่วงเวลา



- แสดงสถานะแจ้งเตือน เมื่อครัวทำอาหารเสร็จ



- แสดงรูปภาพประกอบของแต่ละเมนูรายการอาหาร















3. โปรแกรม บริหารร้านอาหาร Order Restaurant รุ่น Counter Edition



เป็นรุ่นที่รองรับรูปแบบ ร้านอาหาร ประเภท COUNTER SERVICE



“ลูกค้าสั่งอาหารที่ หน้า COUNTER SERVICE” –> “ลูกค้าชำระเงิน” —> “ระบบออกใบเสร็จ ภาษีแบบย่อ ให้ลูกค้า”



เช่น ร้านกาแฟ Coffee Shop ,ร้าน Bekery ,ร้าน ไอศครีม ,ร้าน แฮมเบอร์เกอร์ ,ร้าน ขายโดนัท และ ร้านอาหารอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน เป็นต้น มีความยืดหยุ่น และ คล่องตัว ในการรับ ORDER ตามลักษณะร้าน ได้ทุกรูปแบบ








- Software ร้านอาหาร คุณสมบัติเบื้องต้น








- ส่งข้อความไปยังพนักงานทุกคนได้ทันที








- แสดงเงินสดในลิ้นชักทั้งหมด และดูย้อนหลังได้ แบบทันที








- ดูยอดขายได้ตลอดเวลา และดูย้อนหลังได้








- ดูสถานะโต๊ะได้แบบทันที








- วิเคราะห์โต๊ะ ว่าโต๊ะไหนคนนิยม








- วิเคราะห์ตามเวลาได้ ว่าช่วงไหนขายดี ลูกค้าเข้ามามาก








- พนักงานคนไหนขยัน (ให้บริการลูกค้าบ่อย, รับ Order บ่อย)








- ตรวจสอบยอดคงเหลือสินค้าและวัตถุดิบได้ทันที








- สินค้าขายดี, กลุ่มสินค้าขายดี เพื่อใช้ในการวางแผนการนำสินค้าเข้ามาขาย








- Peopleware ร้านอาหาร การเปิดโฮมเพสเพื่อเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ไม่ใช่เพียงการขายสินค้าแต่เพื่อทำกิจกรรม และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค Interactive Communication ซึ่งจะช่วยการบริหารงบการตลาดผ่านสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้สื่อแบบ Interactive Communication คือ การใช้สื่อที่สามารถเกิดการสื่อสารโต้ตอบกลับมาได้ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือการตลาดแบบผสมผสาน (IMC)โดยการเลือกใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย หลายตราสินสินค้าในปัจจุบันเลือกที่จะใช้สื่อแบบหลากหลาย ผสมทั้งสื่อใหม่และสื่อเก่าเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ซึ่งมีการเติบโตสูงมาก จากเดิมที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอยู่เพียงไม่กี่ล้าน เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มเป็น 13.5 ล้านคน ดังนั้น เราจึงได้เห็นตราสินค้าดังๆ หลายตราที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง และไม่เพียงเท่านั้นยังมีเว็บไซต์เฉพาะแต่ละแคมเปญเสริมเข้าไปอีก ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และสร้างเครือข่ายสำหรับคนที่มีแนวคิดหรือความชื่นชอบที่เหมือนๆกัน



การผนึกกำลังระหว่างสื่อใหม่สื่อเก่า และการทำกิจกรรมการตลาดในรูปแบบ Interactive Communication ภายใต้กลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสานที่เพียบพร้อมด้วยครีเอทีฟไอเดียที่ดี ยังจะเป็นเครื่องมือการตลาดที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบการจะใช้เป็นเครื่องมือหลักในการสร้างรายได้ และขยายกลุ่มเป้าหมายไปอีกยาวนาน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ได้ผลเร็วและแม่นยำที่สุด ดังที่ผู้ประกอบการหลายๆ ตราสินค้าได้พิสูจน์มาแล้ว








1.1 การติดตั้งระบบ IT ต่างๆ ที่จะทำให้องค์กรสามารถเพิ่มสมรรถนะในขบวนการการให้บริการแก่ลูกค้าไม่ว่าจะเป็นทาง front office หรือ back office ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น software, hardware, people ware, ERP หรือ infrastructure ต่างๆ ที่จำเป็น สิ่งเหล่านี้ในทุกวันนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นขององค์กรที่จะต้องมีอย่างน้อยเพื่อการดำเนินกิจการปรกติ แต่ถ้าองค์กรใดต้องการจะเป็นผู้นำจะต้องมีกลยุทธ์ในการทำ system design & development ที่เป็น customer-centric process มากขึ้น เพราะฉะนั้นการวาง IT architecture ขององค์กรอาจจะต้องเป็น collaboration effort ระหว่าง Chief IT Officer และ Chief Marketing Officer มิฉะนั้นเงินลงทุนมหาศาลที่ลงไปใน fixed assets เหล่านี้จะเป็นแค่ capital expenditure ตามที่นักบัญชีชอบใช้เรียกกัน แทนที่เงินลงทุนเหล่านี้จะเป็น capital investment ที่สามารถ generate return








1.2 ในอนาคตถ้าระบบเหล่านี้สามารถทำให้ขบวนการการให้บริการลูกค้าเร็วขึ้น สั้นลง ถูกลง ใช้คนน้อยลง ตรงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้นโดยไม่ไปเสียเวลากับลูกค้าที่ไม่ดีและไม่ก่อให้เกิดรายได้ และที่สำคัญที่สุดคือลูกค้าพึงพอใจมากกว่าการบริการที่ได้รับจากคู่แข่งจากการที่มีระบบเหล่านี้ติดตั้งอย่างเหมาะสม (สุมาส วงศ์สุนพรัตน์, 2551 : ออนไลน์)








1.3 การสื่อสารทางตรงกับลูกค้า








1.4 ความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมข้อมูลในถ่ายทอดสู่ผู้บริโภค








1.5 การสามารถรวบรวมกิจกรรมและแสดงวัตถุประสงค์ของสินค้าแก่กลุ่มลูกค้าได้อย่างครบถ้วน








1.6 การสามารถจัดทำ Loyalty Program ต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด โดยการใช้บริการกลยุทธ์ Loyalty Program ถือเป็นโปรโมชั่นยอดนิยมแห่งยุค ธุรกิจหลากหลายรูปแบบต่างมุ่งประเด็นใช้สร้างสัมพันธ์กับลูกค้า ตั้งแต่สินค้า ภัตตาคาร ร้านอาหาร มือถือ บัตรเครดิต ห้างสรรพสินค้า สายการบิน โรงภาพยนตร์ และสถานบันเทิง ต่างแห่จัดโปรแกรมมัดใจลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสะสมคะแนน ศูนย์บริการรองรับลูกค้าทางโทรศัพท์ บัตรสมาชิกเพิ่มสิทธิประโยชน์ หรือส่วนลด เป็นต้น





บทที่ 2 ข้อ 3 การใช้อินเตอร์เน็ต

บทที่ 2 ข้อ 3 การใช้อินเตอร์เน็ต

บทที่ 2 ข้อ 3 การใช้อินเตอร์เน็ต

บทที่ 2 ข้อ 3 การใช้อินเตอร์เน็ต

ประวัติส่วนบุคคล

นางสาวโชติกา จำปาเครือ

ข้อมูลส่วนบุคคล
วันเกิด : วันที่ 27 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2530 เพศ : หญิง
สถานภาพ : โสด น้ำหนัก : 48 กิโลกรัม
ส่วนสูง : 158 เซนติเมตร
ศาสนา : พุทธ สัญชาติ : ไทย

ประวัติการศึกษา
ปัจจุบัน : กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี
สาขาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ
มหลัยราชภัฏราชนครินทร์
2551 - 2552 : สำเร็จการศึกษาชั้น ปวส.
สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะบริหารธุรกิจ
จากวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
2546 - 2549 : สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
สาขาวิทย์-คณิต จากโรงเรียนศักดิ์สุนันท์วิทยา จังหวัดลำปาง
2543 - 2546 : สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนศักดิ์สุนันท์วิทยา จังหวัดลำปาง
2537 - 2543 : สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา
โรงเรียนศักดิ์สุนันท์วิทยา จังหวัดลำปาง
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน
โรงงานโตไกอิสเทริ์น รับแบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

นำเสนอ กลุ่ม 4

นำเสนอ กลุ่ม 4


































































































บางเบา ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.